เจาะอนาคตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ‘สตรีมมิ่ง’ โอกาสหรืออุปสรรค

เจาะอนาคตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ‘สตรีมมิ่ง’ โอกาสหรืออุปสรรค

เมื่อพ้นผ่านสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด “อุตสาหกรรมภาพยนตร์” กลายเป็นหนึ่งในหมวดที่กลับมาคึกคัก สร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่ยอดขายตั๋ว โฆษณา ตลอดจนสินค้าและบริการที่ให้ขายบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์

ทว่า ก้าวข้ามวิกฤติโรคระบาด แต่ความท้าทายใหญ่ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยังเป็นการต่อกรกับแพลตฟอร์มออนไลน์ “สตรีมมิ่ง” ที่ชิงเวลาของการเสพสื่อบันเทิงของผู้บริโภคให้อยู่บ้าน มากกว่านอกบ้าน อีกด้านจุดด้อยหรือ Pain point ที่แวดวงหนังต้องเจอคือ “หนังไทย” คนไทยไม่ดูบ้าง สวนทางกับต่างประเทศ ซึ่งคอนเทนท์ในบ้านหรือ Local เป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โจทย์หินมากมาย งานสัมมนา iCREATOR 2022 จึงหยิบหัวข้อ “What’s Next for Movie 4.0? อนาคตวงการภาพยนตร์ โลกคู่ขนานโรงหนังและโลกออนไลน์” โดยมีกูรูในวงการให้ความเห็น ประเดิมที่ สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มองโลกโรงหนังถูก “ดิสรัป” มาตลอด แต่ละยุคแตกต่างกัน เช่น มีวิดีโอ วีซีดี ฯ ที่ดึงผู้บริโภคให้เสพคอนเทนท์ความบันเทิงอยู่ที่บ้าน(Home Entertainment) กระทั่งล่าสุดคือ “สตรีมมิ่ง”

“ธุรกิจโรงหนังโดนกระทบมาตลอด จากเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยน แต่เชื่อว่าการดูหนังจะได้อรรถรส ประสบการณ์สมบูรณ์แบบต้องดูที่โรง”

ขณะที่การทำธุรกิจ ผู้ประกอบการโรงหนังปรับตัวตลอด เมื่อมีเทคโนโลยีดิสรัป บริษัทก็นำเทคโนโลยี ดิจิทัลมายกระดับการฉายหนัง นำระบบเสียงสุดล้ำ ตลอดจนที่นั่ง จากปกติ ไปสู่การนำ “ที่นอน” มาตอบโจทย์คนดูทุกเซ็กเมนต์แบบ Customize ด้วย

นอกจากนี้ โรงหนังไม่ได้ทำหน้าที่แค่ฉายหนังอีกต่อไป เพราะกลายเป็นพื้นที่นำเสนอคอนเทนท์ทางเลือกให้คนดู ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดคอนเสิร์ตไอดอลดังเกาหลีใต้ “บีทีเอส” ถ่ายทอดสดศึกแดงเดือด The Match Bangkok Century Cup 2022 ตลอดจนอีเวนท์อื่นๆ เป็นต้น

อีกจุดแข็งที่ทำให้โรงหนังยืนหยัดสู้การช่วงชิงเวลาผู้บริโภคมาเสพความบันเทิงนอกบ้านได้ คือ “ภาพยนตร์” ที่สตูดิโอ ผู้สร้างต่าๆยังทุ่มเงินมหาศาลผลิตหนังฟอร์มยักษ์ป้อนโรงหนังเป็น Window แรก

ข่าวธุรกิจวันนี้

“ยืนยันคอนเทนท์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ต่างจากสตรีมมิ่ง เราดูหนังฮอลลีวู้ด ฟอร์มยักษ์ เช่น แบล็ก อดัม แบล็ค แพนเธอร์ ผู้ผลิตสร้างเพื่อป้อนโรงหนังก่อน”

ปัจจุบันหนังไทยถูกมองว่าตรงจริตคนดูลดลง กลายเป็น “คนไทยไม่ดูหนังไทย” แต่ “สุวิทย์” เชื่อว่าหนังไทยมีศักยภาพในการเติบโต เช่น ไทบ้าน เดอะซีรีส์ โฟร์คิงส์ ผลตอบรับดีเกินคาด

“คนไทยไม่ดูหนังไทย..ไม่จริง! แค่กระแสตอบรับต่างกัน หนังไทยมีศักยภาพ หากพัฒนาบท ทำโปรดักชั่นดี”

ด้านผู้สร้าง ผู้กำกับหนังไทย ผู้รังสรรค์ “คอนเทนท์” อย่าง คงเดช จาตุรันต์รัศมี ผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์ แอน(Faces of Anne) เล่าว่า อดีตการสร้างหนังเข้าฉาย ค่อนข้าง “จำกัดโรง” ขณะที่การเกิดแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง จะเป็นระบบนิเวศที่เอื้อ สร้างประโยชน์ให้กับผู้ผลิตคอนเทนท์ คนดูมากขึ้น สามารถขยายวงจรสินค้าหรือหนังได้มากขึ้น

ขณะเดียวกันยอมรับว่ายุคนี้การดึงกลุ่มเป้าหมายให้ออกมาดูหนังที่โรงเป็นสิ่งที่ต้อง “ออกแรง” มากขึ้น เพราะการดูผ่านสตรีมมิ่ง ทุกคนสามารถกดข้าม เพิ่มสปีดหนังได้ เพราะ “อำนาจ” อยู่ในมือคนดูอย่างแท้จริง แต่สิ่งที่เป็นจุดอ่อนคือประสบการณ์รับชม การดูหนังที่บ้านอยู่ๆอาจมีรถไอติมขับผ่านมีเสียงกระทบการดู เป็นต้น

“เราเชื่อเสมอโรงหนังศักดิ์สิทธิ์ มอบประสบการณ์ที่ดี แม้หลายครั้งเราเห็นคอมเมนต์ผู้ชมบ่นดูหนังในโรงยืดยาด แต่ไม่บ่นกับสตรีมมิ่งเพราะกดข้ามได้ ช้าเร็วคุมได้หมด อำนาจอยู่ในมือ”

ภัทนะ จันทร์เจริญสุข ผู้อำนวยการสร้าง เจ็บเจียนตาย(Hurts Like Hell) กล่าวว่า การเกิดแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง เป็น “โอกาส” ของผู้ผลิต สร้างหนังหน้าใหม่ เพิ่มความหลากหลายคอนเทนท์ตอบโจทย์คนดูมากขึ้น

“เมื่อก่อนผลิตหนังป้อนโรงมีความเสี่ยงด้านรายได้จากการขายตั๋ว พอมีสตรีมมิ่งเรารับรู้รายได้ก่อน เป็นโอกาส และเป็นเวทีให้แข่งกับต่างประเทศได้ด้วย”

ทว่าการทำคอนเทนท์ให้ถูกจริตคนดูแต่ละแพลตฟอร์มไม่ง่าย อย่างซีรีส์เจ็บเจียนจาย เป็นหนังสารคดีม็อกอัพ(Mockumentary)ที่ทำการวิจัยข้อมูลต่างๆในวงการมวยจริงๆราว 1 ปี ผลิตแล้วนำเสนอให้เน็ตฟลิกซ์ ซึ่งถูกปรับแต่งเรียงตอนใหม่ตามคัมภีร์เพื่อ “ตรึงคนดู” ตั้งแต่เริ่ม

อนาคตโลกภาพยนตร์ยังเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ทั้งคนดู คอนเทนท์ รวมถึงแพลตฟอร์ม เพราะบางค่ายซื้อกิจการ “เกม” บางค่ายมีอีคอมเมิร์ซ ซึ่งการซีนเนอร์ยี ต่อยอดธุรกิจจะเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการต้องติดตาม

“ในอนาคตสตรีมมิ่งคงมีลูกเล่นเพิ่ม แต่การทำหนังให้มีคุณภาพ ถือเป็นหัวใจสำคัญ”

อัพเดททุกข่าวสารของแวดวงธุรกิจได้ที่นี่  >>> มิว สเปซ เผยแผนรุกธุรกิจในช่วง 10 ปีแรก

มิว สเปซ เผยแผนรุกธุรกิจในช่วง 10 ปีแรก

มิว สเปซ เผยแผนรุกธุรกิจในช่วง 10 ปีแรก ประกาศเดินหน้าสร้าง Space Supply Chain รายใหญ่ใน SEA

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด [mu Space Corp] ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ และผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม เผยแนวทางรุกธุรกิจช่วง 10 ปีแรก ประกาศเดินหน้าลงทุนสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมอวกาศ มุ่งเป็นผู้นำรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างเครือข่ายด้านวัสดุอุปกรณ์และสินค้าเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศทั้งหมด

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทมิว สเปซ เปิดเผยว่า “ มิว สเปซ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านการพัฒนาดาวเทียมและระบบพลังงานประสิทธิภาพสูง (High Power System) โดยทำให้เล็งเห็นความสำคัญในลงทุน 3 ด้าน ที่เป็นส่วนสำคัญที่ต่อยอดให้เกิดการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศ ได้แก่

Human Capital Knowledge (องค์ความรู้), Equipment & Machinery (เครื่องมือและเครื่องจักร) และ Raw Material (วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี) อีกทั้ง ยังต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะก่อนให้เกิดเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศได้อย่างยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้ มิว สเปซ จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่ม Start Up รุ่นใหม่ ให้ได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ดี เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศอย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนช่วยในการขยายตลาดในอุตสาหกรรมอวกาศได้เติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

จากรายงานเศรษฐกิจเกี่ยวกับธุรกิจด้านอวกาศ ได้มีสื่อมวลชนรายใหญ่และกลุ่มนักวิเคราะห์ระดับชั้นนำ ประเมินมูลค่าอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลก มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยภายในปี 2569 จะเติบโตจากมูลค่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มไปถึง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

และมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายด้านอุตสาหกรรมอวกาศ อันเป็นปัจจัยบวกทั้ง ด้านเศรษฐกิจ, ด้านการศึกษา, ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านการสร้างอาชีพและการจ้างงาน อีกทั้ง ขยายผลลัพธ์เชิงบวกให้กระจายขยายเป็นวงกว้าง ครอบคลุมไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับการแถลงข่าว “Thailand Space Supply Chain 10 ปี กับแผนเดินหน้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ” ที่จัดขึ้นครั้งนี้ ได้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากองค์กรระดับชั้นนำ ได้แก่ AIRBUS บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินระดับโลก โดยยินดีสนับสนุนและมีบทบาทร่วมสร้าง Space Supply Chain ให้เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ได้กล่าวถึง “New Space Economy หรือ การสร้างเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศว่า ขณะนี้ บทบาทได้พลิกจากเดิมที่มีเพียง “ภาครัฐบาล” หรือ “ประเทศมหาอำนาจ” เป็นผู้ดำเนินการหลักเท่านั้น มาสู่กลุ่มภาคเอกชน

อัพเดทข่าวธุรกิจ แนะนำข่าวเพิ่มเติม >> สูตรส่งไม้ต่อ “ทายาท” สืบสานธุรกิจครอบครัวยั่งยืน

สูตรส่งไม้ต่อ “ทายาท” สืบสานธุรกิจครอบครัวยั่งยืน

การตั้งต้นธุรกิจในโลก “ครอบครัว” มีส่วนสำคัญอย่างมาก เช่นเดียวกันประเทศไทย องค์กรเล็กใหญ่ไม่น้อยที่ “พ่อแม่” ทุ่มเทสรรพกำลังแรงใจแรงกาย และเงินทุนก่อเกิดกิจการเล็กๆจนใหญ่โตกลายเป็น “อาณาจักร” ที่มั่งคั่ง

เมื่อถึงจุดหนึ่ง การผ่องถ่ายธุรกิจให้ “ทายาท” ย่อมเกิดขึ้น จากเจนเนอเรชั่น 1 สู่ 2 ความสำเร็จมักคงอยู่ ทว่า เข้าสู่เจนฯ 3-4 กลับเริ่มเห็นความร้าวฉานในครอบครัว นำไปสู่ผลกระทบทางธุรกิจ “กงสี”

สำหรับธุรกิจครับครัวในสังคมไทยมีตัวอย่างมากมาย ที่เติบโต เช่น บุญรอดบริวเวอรี่ องค์กร 89 ปี มีเจนฯ 4 ของตระกูล “ภิรมย์ภักดี” ร่วมขับเคลื่อนอาณาจักรเครื่องดื่มและอาหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ตระกูล “เจียรวนนท์” องค์กรก้าวสู่ “ร้อยปี” มีเจนฯ มาสืบสานกิจการ “ล้านล้านบาท” กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น(ทีซีซี กรุ๊ป) ทายาทรุ่น 2 พี่น้อง 5 คน ตระกูล “สิริวัฒนภักดี” เบ่งธุรกิจให้เติบใหญ่

เครือสหพัฒน์ เบอร์ 1 สินค้าอุปโภคบริโภคแสนล้านอายุ 80 ปี ทายาท “โชควัฒนา” เข้ามากุมบังเหียนแต่ละหมวดธุรกิจ และกลุ่มเซ็นทรัล ห้างค้าปลีกเบอร์ 1 เมืองไทย ซึ่งภายใต้ตระกูล “จิราธิวัฒน์” มี 5 เจนฯ ทั้งลูกหลาน เขย-สะใภ้กว่า 230 ชีวิต และกว่า 50 คน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนธุรกิจ(ข้อมูล ณ ก.ย.62) เป็นต้น

ทั้งนี้ ไม่ได้มีเพียงตระกูลใหญ่เคลื่อนธุรกิจราบรื่น เพราะ “คลื่นใต้น้ำ” ภายใต้กิจการกงสี มีเกิดขึ้นเสมอ บางครั้งปะทุเป็นประเด็นให้สังคมจับจ้อง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ “ปุ้มปุ้ย”ของ “โตทับเที่ยง” ปมร้าวตระกูล “ณรงค์เดช” หรือศึก “แม่ประณอม” เป็นต้น

ธุรกิจ 12 9 2565

แล้วในยุคบริบทธุรกิจไม่เหมือนอดีต การแข่งขันรุนแรง หน้าตา “คู่แข่ง” เปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคปรับ สนามรบการค้าพลิกโฉม เทคโนโลยี นวัตกรรมล้ำสมัย อาวุธการตลาดใหม่ๆพลังเพิ่ม ธุรกิจ “ครอบครัว” จะอยู่ยั่งยืนอย่างไร รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มุมมองหลายประการ

“เมื่อทายาทรับไม้ต่อหรือเทคโอเวอร์กิจการครอบครัวจากพ่อแม่มาดูแล สิ่งสำคัญต้องตระหนักคุณค่าหลักหรือ Core Value กิจการครอบครัวคืออะไร เพื่อนำต่อไปยอดสร้างความแข็งแกร่ง หรือปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทธุรกิจในยุคปัจจุบันมากขึ้น”

ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจจากอดีตถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรอบทิศ ความสำเร็จดั้งเดิมในยุคพ่อแม่ผู้ก่อตั้ง อาจไม่ได้การันตีความสำเร็จบนสมรภูมิการค้าใหม่ได้ แต่เพื่อสร้างการเติบโตยั่งยืน “ทายาท” ต้องมี “วิสัยทัศน์” ที่ก้าวไกล ไม่มองเป้าหมาย การขับเคลื่อนธุรกิจในระยะยาว ระหว่างทาง ต้องมียุทศาสตร์ กลยุทธ์ ในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

เมื่อธุรกิจต้องเบ่งอาณาจักร มีการ “ลงทุน” เข้ามาเกี่ยวข้อง การตระหนักใน “ความเสี่ยง” เป็นพื้นฐานที่จำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม พิจารณาให้รอบทิศทั้งความเสี่ยงการเงิน การตลาด วิกฤติที่ไม่คาดฝัน เช่น น้ำท่วม หรือโรคระบาด สิ่งเหล่านี้ต้องมองเกมให้ขาด

“การขับเคลื่อนธุรกิจในยุคปัจจุบัน ไม่เหมือนอดีต หลายอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วและแรง ทั้งคู่แข่งที่ไม่เหมือนเดิม เทคโนโลยี การทำตลาดมีวิวัฒนาการมากขึ้น การวางวิสัยทัศน์ระยะยาวจำเป็น แต่ต้องมีการปรับกลยุทธ์ การปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา”

ขณะเดียวกันการเปิดใจกว้างเพื่อรับฟัง เรียนรู้ประสบการณ์จากพ่อแม่ผู้บริหารยุคเก่าสำคัญเช่นกัน เนื่องจากการขับเคลื่อนธุรกิจแต่ละยุคสมัย พบเจอเหตุการณ์แตกต่างกันตามช่วงอายุ สิ่งเหล่านั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจให้มีความแข็งแกร่งขึ้น โดยบางประเด็นอาจไม่ต้องปรับทั้งหมด 100% แต่บางเหตุการณ์ ต้องยกเครื่องหมดก็มีเช่นกัน แต่ทุกอย่างต้องดำเนินาภายใต้ข้อเท็จจริง เหตุผล ไม่ใช่ “อารมณ์” ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง

“การเปิดรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างรุ่น เป็นเรื่องดี”

สำหรับการขยายธุรกิจ ต่อยอดอาณาจักรให้มั่งคั่ง กลยุทธ์ที่น่าสนใจ ต้องเริ่มมองคุณค่าหลักบริษัท เช่น กิจการครอบครัวเป็นฟาร์มสัตว์ สามารถลุยธุรกิจร้านอาหาร ทำให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ธุรกิจโรงแรม ต้องเรียนรู้แพลตฟอร์มใหม่ๆในการจองเข้าพัก ส่วนธุรกิจเครื่องดื่ม หากทำแอลกอฮอล์ ต้องแตกไลน์ไปสู่กลุ่มนอนแอลกอฮอล์ ฯ

ด้านแบรนด์ หากภาพลักษณ์เก่าอาจปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น ด้านกลยุทธ์ตลาด นำเทคโนโลยี เครื่องมือ มาติดอาวุธให้ทรงพลัง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้วิชั่นเปรียบเสมือเข็มทิศนำทางธุรกิจครอบครัว รุ่น 1-2 มักไม่มีอุปสรรค เพราะยังเป็นครอบครัวเล็ก เมื่อเข้าสู่รุ่น 3-4 ปัญหามากเกิดตามมา สาเหตุเพราะ ครอบครัวขยายใหญ่ ไม่ได้มีแค่พ่อแม่ลูก แต่เพิ่มคือ หลาน ลูกเขย-สะใภ้ บางครั้งอาจเกิดการแบ่ง “พวกเขา-พวกเรา” ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนอดีต

“เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ขึ้น การปรับมายด์เซ็ทเป็นสิ่งสำคัญ บางคนยึดติดว่าคือพ่อแม่ลูก พอมีสะใภ้ เขย ลูกหลานเพิ่ม อาจมองความหมายครอบครัวไม่เหมือนเดิม แบ่งแยกพวกพ้อง หากปรับวิธีคิดได้ว่าทุกคนคือครอบครัว แล้วดำเนินธุรกิจให้ขยายใหญ่ขึ้น ทุกคนก็จะได้แบ่งเค้กความมั่งคั่งมากขึ้น”

ยิ่งกว่านั้น หากมีทายาทในครอบครัวบางคนทำงาน นั่งเก้าอี้บริหารธุรกิจ บางคนกลับไม่ทำอะไร กลายเป็นสร้าง “ปมปัญหา” เพิ่มเติม

ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจกงสีเติบใหญ่ยั่งยืน จึงควรมีการร่าง “ธรรมนูญครอบครัว” หรือ Family Constitution ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติสำหรับทุกคนภายในครอบครัว ป้องกันการแหกกฎ

อ่านธรรมนูญตระกูล “จิราธิวัฒน์”

ด้าน “โครงสร้าง” ต้องแบ่งชัดเจน แยกคำว่า “ครอบครัว” กับ “ธุรกิจ” ออกจากกัน เพราะบางครั้งทาบาทในตระกูล มองกิจการเป็นของตนเอง อาจเข้าไปใช้บริการโดยไม่คำนึงถึงการจ่ายเงินในฐานะ “ลูกค้า” เป็นต้น

การสื่อสารใน “ธุรกิจครอบครัว” และสื่อสารภายใน “ครอบครัว” มีความแตกต่างกัน หากเป็นธุรกิจ การให้ข้อมูลแก่ทุกคนรับทราบถ้วนหน้าเท่าเทียมกันเป็นสิ่งจำเป็น ไม่มีการ “ปิดบัง” บางส่วนรู้กันแค่บางคน ยังช่วยลดทอนความขัดแย้งที่จะเกิดในอนาคตด้วย

รศ.ดร.วิเลิศ ยังหยิบยก 3 ศาสตร์เสริมแกร่งธุรกิจครอบครัว ได้แก่ ความซื่อสัตย์ระหว่างกัน การสอดประสานสามัครภายในครอบครัว ไม่แยกครอบครัวฉันครอบครัวเธอ และการเห็นอกเห็นใจกัน อ่านข่าวธุรกิจเพิ่มเติมที่นี่ >> footballbetnow88