“หมอเด็ก” เผยพัฒนาการของลูกน้อย เมื่อได้ฟังนิทานจากพ่อแม่เป็นประจำ

“หมอเด็ก” เผยผลวิจัย พบว่าสมองของเด็กที่ได้ฟังนิทานเยอะ จะถูกกระตุ้น และเชื่อมโยงได้ดีกว่าเด็กที่ฟังน้อย ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ภาษา และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

แพทย์หญิง รวงฤทัย ฉิ้มสังข์ กุมารแพทย์ประจำคลินิกเด็กหมอรวงข้าว เจ้าของแฟนเพจเฟซบุ๊ก Junji’s Story by หมอรวงข้าว ได้โพสต์ข้อความระบุว่า เด็กเล็กจำนิทานได้ทั้งเรื่อง แม้ยังอ่านไม่ออก เพราะสมองเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา

เกิดอะไรขึ้นเมื่อพ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกฟัง

จากงานวิจัยพบ ว่าสมองของเด็กที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังมากๆ เมื่อมาฟังนิทานจากครูที่โรงเรียน สมองจะถูกกระตุ้น และเชื่อมโยงได้ดีกว่ากลุ่มที่บ้านอ่านนิทานให้ฟังน้อย (จากรูปแสดงสมองของเด็ก เมื่อถ่ายภาพด้วย fMRI สีแดงจะเกิดเมื่อบริเวณนั้น ของสมองถูกกระตุ้น)

ภาคเอกชน ชื่นชม โครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกในสถานประกอบการ ลดอัตราเจ็บป่วย
ภาคเอกชน ชื่นชม โครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกในสถานประกอบการ ลดอัตราเจ็บป่วย
การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำให้ลูกได้เรียนรู้ภาษา และสำนวนที่ดีจากหนังสือ สัมผัสถึงความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ สร้างสายสัมพันธ์ที่ดี

หมอเด็ก

ส่วนการดูหน้าจอ ตั้งแต่ยังเล็ก โดยไม่มีใครอ่านหนังสือให้ฟังเลย มีแต่ข้อมูล ภาพ เสียง การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว รับข้อมูลด้านเดียว ทำให้กระตุ้นการเรียนรู้ภาษา และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้น้อย

การเปิดนิทานให้ลูกฟังจากเสียง (Audio)โดยไม่มีภาพ สมองอาจถูกกระตุ้นน้อย เพราะได้ยินแต่เสียงไม่เห็นภาพ คิดตามไม่ออก เกิดจุดเชื่อมโยงในสมองน้อย (คำบางคำเด็กอาจไม่เคยได้ยิน เมื่อไม่มีภาพประกอบจึงไม่รู้ว่าคำนั้นคืออะไร)

แม้ช่วงแรกๆ ที่เริ่มอ่านนิทานให้ลูกฟัง ลูกยังไม่สนใจมาก คลานหนี ดึง กัด ฉีก แต่ได้ยินเสียงพ่อแม่ที่กำลังอ่าน หรือแค่มีพ่อแม่อ่านอยู่ข้างๆ ก็ทำให้รู้สึกดี

นิทานคือโลกของภาษา และจุดกำเนิดของพัฒนาการที่ดี หากวันนี้ลูกยังไม่ชอบนิทาน แค่อ่านให้ฟังเป็นประจำทุกวัน วันนึงนิทานก็จะกลายเป็นทุกอย่างของลูกค่ะ คิดอะไรไม่ออก แค่มีนิทานอยู่ข้างๆ ลูก จะหยิบเล่นอะไรก็ได้ให้สนุก เพราะหนังสือสำหรับเด็กเล็ก อาจไม่ได้มีไว้อ่านแค่อย่างเดียว

บ้านที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังมาก คือ อ่านให้ฟังสม่ำเสมอ ส่วนบ้านที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังน้อย คือ อ่านให้ฟังไม่สม่ำเสมอ อ่านแบบที่คุณตาหมอบอก “อ่าน 15 นาที ทุกวัน อ่านสม่ำเสมอ” ก็จะเห็นผลลัพธ์ดีๆ ค่ะ พอโตขึ้น 15 นาทีไม่มีอยู่จริง อาจกลายเป็น 15 เล่มแทน

อ่านข่าวเพิ่มเติม : วิธีดูแลหูลูก ทำความสะอาดหูลูก ทำอย่างไรไม่มีอันตราย

วิธีดูแลหูลูก ทำความสะอาดหูลูก ทำอย่างไรไม่มีอันตราย

วิธีดูแลหูลูก ทำความสะอาดหูลูก ทำอย่างไรไม่มีอันตราย

หูของลูกเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนและบอบบาง อีกทั้งยังเป็นอวัยวะสำคัญที่เชื่อมต่อกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย การทำความสะอาดหูลูกจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่นั้นต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะมาดูวิธีทำความสะอาดหูลูกมาทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของหูกันค่ะ

เด็ก

วิธีดูแลหูลูกทำความสะอาดหูลูก ทำอย่างไรไม่มีอันตราย

หูประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

หูประกอบไปด้วย 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน ในส่วนของหูชั้นนอกจะเป็นส่วนที่สามารถทำความสะอาดได้บางส่วน สำหรับหูชั้นกลางและหูชั้นในเป็นส่วนที่ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว

อุปกรณ์ทำความสะอาดใบหูลูก
ผ้านุ่มๆ หรือคอตตอนบัด น้ำอุ่น น้ำมันมะกอก ห้ามใช้แอลอกฮอลเป็นอันขาด

วิธีทำความสะอาดใบหูลูก

  • ใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำอุ่นบีบให้พอหมาดเช็ดทำความสะอาดหลังใบหู และด้านหน้าของใบหูตามซอกตามร่องของใบหู
  • ถ้าใบหูมีผิวที่แห้งให้ใช้น้ำมันมะกอกผสมกับน้ำอุ่นแล้วเช็ดใบหูอีกครั้ง

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

เวลาอาบน้ำลูกให้ระมัดระวังเป็นพิเศษอย่าปล่อยให้น้ำเข้ารูหูเด็ดขาดเพราะจะทำให้แก้วหูอักเสบ ควรใส่หมวกกันน้ำ หรือใช้สำลีอุดหูขณะอาบน้ำ และควรเช็ดใบหูเพื่อกำจัดฝุ่นผงทุกวัน หากลูกบอกว่าเจ็บหู หรือมีสิ่งแปลกๆ ไหลออกจากหูอย่าแคะเองเด็ดขาด ควรไปพบหมอ

หากน้ำเข้าหูลูกต้องทำอย่างไร

เมื่อน้ำเข้าหูลูกอย่าใช้คอตตอนบัดแคะ หรือหยอดของเหลวใดๆ เข้าไปเป็นอันขาด ให้ลูกเอียงคอฝั่งที่น้ำเข้าลงหรือให้นอนตะแคงราบโดยหูฝั่งที่น้ำเข้าลง อีกหนึ่งวิธีให้ใช้ฝ่ามือค่อยๆ แนบใบหูด้านที่ถูกน้ำเข้าขณะนอนตะแคงให้แนบสนิทจากนั้นค่อยๆ ปล่อยมือ แรงดันของฝ่ามือจะช่วยให้น้ำไหลออกมาง่ายขึ้น แต่อย่าทำแรงนะคะ