IMF ย้ำจุดยืนเดิม ! เรียกร้องทุกฝ่ายแบน Crypto เพราะ “อาจบ่อนทำลายระบบการเงินทั่วโลก”

IMF ย้ำจุดยืนเดิม ! เรียกร้องทุกฝ่ายแบน Crypto เพราะ “อาจบ่อนทำลายระบบการเงินทั่วโลก”

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้แสดงจุดยืนต่อการขยายตัวของการประยุกต์ใช้ Crypto ด้วยการเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกมีการ “ร่วมมือกันเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่อาจบ่อนทำลายระบบการเงินทั่วโลก” “การขยายตัวของการประยุกต์ใช้สินทรัพย์ Crypto อาจบั่นทอนประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน หลบเลี่ยงมาตรการการจัดการเคลื่อนย้ายเงินทุน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลัง” IMF กล่าวในแถลงการณ์ อ้างอิงถึงการอภิปรายนโยบาย Crypto ของคณะกรรมการบริหารเมื่อคืนนี้ “คณะกรรมการบริหารควรสังเกตการณ์ ขณะที่ผลประโยชน์ที่อาจจะได้รับจากสินทรัพย์ Crypto ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด ความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญได้ก่อตัวขึ้นแล้ว” IMF กล่าว

การเงิน

แย้งว่า Crypto ไม่ควรได้รับสถานะเป็นสกุลเงินทางการหรือมีสถานะถูกกฎหมาย ในขณะที่คณะกรรมการบริหารเห็นว่า “การบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวดไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด” ความกังวลของ IMF มาจากอิทธิพลของ Crypto ที่มีต่อความมั่นคงทางการเงิน บูรณภาพทางการเงิน ความเสี่ยงทางกฎหมาย การปกป้องผู้บริโภค และความสมบูรณ์ของตลาด พร้อมอภิปรายถึงกรอบองค์ประกอบ 9 ประการที่สามารถช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกสามารถ “พัฒนาการตอบสนองเชิงนโยบายที่ครอบคลุม สอดคล้อง และประสานกัน” ในขณะที่คำแนะนำประกอบด้วย การประยุกต์ใช้ “การเก็บภาษี Crypto ที่ชัดเจน” IMF ยังได้กล่าวด้วยว่า ประเทศสมาชิกอาจจะบรรเทาความเสี่ยงจาก Crypto ได้ด้วยการทำให้โครงสร้างพื้นฐานของดิจิทัลแข็งแกร่งขึ้น และมี “ตัวเลือกอื่น ๆ”

ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : กสิกร อินเวสเจอร์ทุ่ม 3.5 พันล้านถือหุ้น JAM หนุน JMT ขึ้นผู้นำบริหารสินทรัพย์เบอร์ 1

กสิกร อินเวสเจอร์ทุ่ม 3.5 พันล้านถือหุ้น JAM หนุน JMT ขึ้นผู้นำบริหารสินทรัพย์เบอร์ 1

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า บริษัท กสิกร อินเวสเจอร์ จำกัด (KInvesture)

ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของธนาคารกสิกรไทย ได้เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด (JAM) ในสัดส่วน 9.9% ด้วยเงินลงทุนกว่า 3,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการเติบโตของ JAM เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพของ JAM ที่มีเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความชำนาญในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเห็นโอกาสในการเติบโตของ JAM จึงตัดสินใจเข้าร่วมลงทุนในครั้งนี้

กสิกร อินเวสเจอร์ทุ่ม 3.5 พันล้าน

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ธนาคารได้ร่วมกับ JAM ซึ่งเป็นบริษัทลูกในกลุ่ม บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) จัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (JK AMC) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนแห่งแรกในไทย ระหว่างธนาคารพาณิชย์และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์โควิดในช่วงที่ผ่านมา

ด้านนายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMT กล่าวว่า การที่บริษัทย่อยของธนาคารกสิกรไทย ได้เข้ามาถือหุ้นใน JAM ได้สะท้อนความแข็งแกร่งในการบริหารงาน ความเชี่ยวชาญและศักยภาพการเติบโตของกลุ่มบริษัท รวมถึงเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้ซื้อทรัพย์ NPA ทั่วประเทศ ทั้งนี้ JMT ตั้งเป้าก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม : คลังเตือนภัยระวังมิจฉาชีพแอบอ้างปล่อยเงินกู้

คลังเตือนภัยระวังมิจฉาชีพแอบอ้างปล่อยเงินกู้

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า

ปัจจุบันมีการชี้ชวนให้ประชาชนเข้าทำธุรกรรมกู้เงินในลักษณะต่างๆ มากมาย ซึ่งบางแห่งมีการอ้างอิงว่าได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจปล่อยเงินกู้

ปัจจุบัน กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้มีการอนุญาตให้เอกชนประกอบธุรกิจปล่อยเงินกู้ในโครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ หรือ “สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์” วงเงินไม่เกินรายละ 50,000-100,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังมีการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ไปแล้วทั้งสิ้น 1,097 ราย กระจายใน 76 จังหวัด

การเงิน

จากปัญหาโควิด-19 และปัญหาอื่นๆ อาจทำให้ประชาชนมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินจนเปิดโอกาสให้มีผู้เชิญชวนประชาชนทำธุรกรรมกู้เงินกับบริษัทเอกชนต่างๆ โดยมักจะอ้างว่าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จากกระทรวงการคลัง และส่วนใหญ่มักเป็นการแอบอ้าง ซึ่งนอกจากจะสร้างความเสียหายให้ประชาชนผู้ถูกหลอกแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาสภาพเศรษฐกิจในภาพรวมด้วย

ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนที่สนใจจะใช้บริการสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ระมัดระวัง และตรวจสอบรายชื่อว่าบริษัทที่ตนจะทำธุรกรรมด้วยนั้นเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จากกระทรวงการคลังจริงหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ “www.1359.go.th”

เนื่องจากในปัจจุบันมิจฉาชีพมีการพัฒนาการแอบอ้างหลอกลวงตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งมีการปลอมเป็นชื่อบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ ดังนั้น จึงควรโทร.ตรวจสอบข้อมูลก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมทุกครั้ง และขอย้ำว่า “การกู้เงินจากบริษัทที่ได้รับอนุญาตจะต้องไม่มีลักษณะการเอาเปรียบผู้กู้ เช่น ให้ผู้กู้โอนเงินค่าธรรมเนียมใดๆ หรือเงินค้ำประกันใดๆ ให้บริษัทก่อนจะได้รับเงินกู้ หรืออ้างว่าได้มีการทำสั